ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต เฮทเซล

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เบซิล สจ๊วต Hetzel

ออสเตรเลีย
2550 in Public Health


ศาสตราจารย์นายแพทย์ เบซิล เฮทเซล เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องผลของการขาดสารไอโอดีนที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะต่อการพัฒนาของสมอง และมีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการรณรงค์แก้ไขปัญหาโรคสารไอโอดีนในระดับโลก

ในระหว่างปี 2519-2528 นายแพทย์ เฮทเซล และคณะได้พิสูจน์ว่าการขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อการพัฒนาการของสมองและระบบประสาทส่วนกลาง โดยการขาดสารไอโอดีนอย่างรุนแรงในมารดาและทารกในครรภ์ทำให้เกิดโรคเอ๋อ คือ มีสติปัญญาต่ำ, หูหนวก, เป็นใบ้, การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ ซึ่งเป็นความพิการอย่างถาวร โดยเด็กที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีการขาดสารไอโอดีน จะมีระดับเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวต่ำกว่าเด็กวัยเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีสารไอโอดีนพอเพียงถึง 13.5 จุด ความพิการเหล่านี้สามารถจะแก้ไขได้โดยการให้สารไอโอดีนให้พอเพียงแก่สตรีวัยเจริญพันธ์ก่อนที่จะตั้งครรภ์

นายแพทย์เฮทเซลและคณะ ได้ร่วมกันพัฒนาการใช้น้ำมันผสมไอโอดีนชนิดฉีดเพื่อป้องการโรคขาดสารไอโอดีน และพิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกันความผิดปกติทางสติปัญญาได้ วิธีการนี้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศในทวีป เอเชีย, อัฟริกา และอเมริกาใต้

นายแพทย์เฮทเซล เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและเป็นประธานของคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนนานาชาติ หรือ ICCIDD ซึ่งผลักดันให้มีการใช้เกลือเสริมไอโอดีนอย่างเต็มรูปแบบ ในหลายประเทศทั่วโลกทั้งในการบริโภค อุตสาหกรรมอาหาร และในการปศุสัตว์อย่างเข้มแข็ง และมีผลต่อพัฒนาการของประชากรโลกกว่าพันล้านคน

นายแพทย์เฮทเซลจึงเป็นผู้ที่ทำให้คำว่า “โรคขาดสารไอโอดีน” เป็นที่ยอมรับมากกว่าจะใช้คำว่าโรคคอพอก ซึ่งทำให้เกิดคณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อการป้องกันผลกระทบที่จะเกิดต่อเชาวน์ปัญญาของประชากรจำนวนมหาศาล