ศาสตราจารย์นายแพทย์ เฮอร์เบิร์ด แอล นีดเดิลแมน

ศาสตราจารย์นายแพทย์ เฮอร์เบิร์ด แอล Needleman M.D.

สหรัฐอเมริกา
2546 in Public Health


บทบาทสำคัญคือการค้นพบหลักฐานที่แสดงที่ให้เห็นว่าการได้รับสารตะกั่วในปริมาณน้อยเป็นเวลานานจะเกิดพิษต่อร่างกายและแสดงให้เห็นว่าสารตะกั่วส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท จากการศึกษาประชากรในสหรัฐอเมริกาพบว่าค่าเฉลี่ยของความฉลาดทางปัญญา (IQ) ในเด็กที่ได้รับสารตะกั่วในปริมาณน้อยจากการสัมผัสของเล่นพลาสติกหรือของเล่นที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบในกระบวนการผลิตเป็นระยะเวลานานจะลดลง 6 จุด เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับสารตะกั่วในวัยเดียวกัน
ผลการศึกษาของ Professor Herbert L. Needleman ทำให้หลายองค์กรในสหรัฐอเมริกาเกิดความเคลื่อนไหวในการรณรงค์ให้ลดการใช้สารตะกั่วซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม (the U.S. Environmental Protection Agency) ตัดสินใจลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมันเบนซินสำหรับรถยนต์, องค์กร Consumer Product Safety Commission ไม่ใช้สารตะกั่วในอุตสาหกรรมการผลิตสีทาบ้านเป็นต้น ซึ่งการตัดสินใจของหลายองค์กรนี้ส่งผลให้ตั้งแต่ ปี 1970 ประชากรในสหรัฐอเมริกามีปริมาณของสารตะกั่วในเลือดลดลงร้อยละ 94 และมลพิษในอากาศที่เกิดจากสารตะกั่วลดลง ผลการศึกษาของ Professor Herbert L. Needleman เกิดประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากในอดีตคนส่วนใหญ่ไม่ให้ความสนใจถึงผลของการได้รับสารตะกั่วในปริมาณน้อยจาก ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดการสะสมในร่างกายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวเพราะคิดว่าผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดจากสารตะกั่วนั้นต้องได้รับในปริมาณสูงเท่านั้น ผลการศึกษาของ Professor Herbert L. Needleman กระตุ้นให้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยสนใจและหันมารณรงค์การลดสารตะกั่วในอุตสาหกรรมต่าง ๆ